วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ระวังอันตรายจากสารบอแรกซ์

  บอ แรกซ์ หรืออาจเรียกชื่อว่า ผงกรอบ น้ำประสานทอง ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก  ผงเนื้อนิ่ม สารข้าวตอก ผงกันบูด และเม่งแซ กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดให้เป็นวัตถุที่ห้ามใช้อาหาร เพราะเป็นสารเคมีที่นำท่ใช้ในทางอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้ว ใช้เป็นส่วนประกอบของยาฆ่าเชื้อ ในการเชื่อมทอง ใช้ชุบและเคลือบโลหะ และใช้ในการผลิตถ่านไฟฉาย เป็นต้น ชื่อทางเคมีของบอแรกซ์ คือ
         - โซเดียมบอเรต ( Sodium Borate )
         - โซเดียมเตตราบอเรต ( Sodium Tetraborate )
         - โซเดียมไบบอเรต ( Sodium Biborate ) ฯลฯ
ลักษณะของบอแรกซ์
          มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ในอากาศแห้งผลึกจะกลายสภาพเป็นฝุ่นผง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย ละลายได้ดีในน้ำ ไม่ละลายในแอลกอฮอล์ 95% เก็บในภาชนะบรรจุที่อากาศผ่านได้ สารละลายของบอแรกซ์เป็นด่าง
การนำสารบอแรกซ์มาใช้ในทางที่ผิด
          เนื่องจากสารบอแรกซ์ทำให้อาหารมีลักษณะหยุ่น กรอบ และมีคุณสมบัติเป็นวัตถุกันเสียอยู่ด้วย จึงมีการนำมาใช้ผลิตอาหารประเภทลูกชิ้น หมูยอ ทอดมัน ไส้กรอก แป้งกรุบ ลอดช่อง ผงวุ้นเส้น ทับทิมกรอบ มะม่วงดอง ผักผลไม้ดอง และยังพบว่ามีการนำเอาบอแรกซ์ ไปละลายน้ำแล้วทาที่เนื้อหมู เนื้อวัว เพื่อให้ดูสด ไม่บูดเน่าก่อนเวลา บางแห่งใช้เนื้อหมูเนื้อวัวจุ่มลงในน้ำบอแรกซ์ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลอมปนในผงชูรส เนื่องจากมีลักษณะเป็นผลึกเล็ก ๆ คล้ายผงชูรส
อาหารที่ตรวจพบว่ามีการใช้สารบอแรกซ์
- เนื้อสัตว์บด เช่น เนื้อบด หมูบด ไก่บด เนื้อปลาขูด ลูกชิ้นปลา และลูกชิ้นหมู เป็นต้น
- เนื้อสัตว์ทั่วไป เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา เป็นต้น
- ขนมจากแป้ง เช่น ทับทิมกรอบ รวมมิตร แป้งกรุบ บัวลอยเผือก
- ของหวานและผลไม้ดอง เช่น เผือกกวน วุ้นกะทิ สาคูกะทิ ถั่วแดงในข้าวเหนียวตัด รวมทั้งผลไม้ดองต่างๆ
อันตรายต่อผู้บริโภค
          บอแรกซ์ เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ความรุนแรงของการเกิดพิษ ขึ้นกับปริมาณที่ร่างกายได้รับสะสมในร่างกาย หากได้รับในปริมาณไม่มาก แต่ได้รับบ่อยเป็นเวลานานจะเกิดอาการเรื้อรัง เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นำหนักลด ผิวหนังแห้งอักเสบ หนังตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับและไตอักเสบ ระบบสืบพันธ์เสื่อมสมรรถภาพ เป็นต้น แต่ถ้าได้รับบอแรกซ์ในปริมาณสูงจะเกิดอาการเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ อุจจาระร่วง เป็นต้นบางครั้งรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ขนาดของบอแรกซ์ที่เป็นอันตราย
ในผู้ใหญ่  ขนาดที่ทำให้เกิดพิษ 5 - 10 กรัม ขนาดที่ทำให้ตาย 15 - 30 กรัม (1ขีดเท่ากับ 100 กรัม จะเห็นว่าไม่ถึง 1 ช้อนชาก็เป็นพิษแล้ว)
ในเด็ก      ขนาดที่ทำมลให้เกิดพิษและตาย 4.5 - 14 กรัม โดยการตายจะเกิดภายใน 2-3 วัน
การแก้พิษ   เมื่อได้รับบอแรกซ์ปริมาณสูงใช้วิธีทำให้อาเจียนหรือรีบส่งแพทย์ เพื่อทำการล้างท้อง

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

ฝรั่งแช่บ๊วย

วิธีการทำฝรั่งแช่บ๊วย


ขั้นตอนการทำฝรั่งแช่บ๊วย โดยสังเขป
      1.    ล้างฝรั่งให้สะอาด
      2.      ปอกเปลือกฝรั่ง
3.      นำฝรั่งที่ปอกเปลือกเสร็จแล้วไปล้างน้ำสะอาด 

4.   แช่สารละลายที่ทำให้ฝรั่งกรอบและแข็ง เช่น สารส้ม น้ำปูนใส และอื่นๆ **

5.      ช่วงนี้เตรียมน้ำยาสำหรับกลิ้ง  สูตร ฝรั่ง 30 กก.(60-70ลูก) / ผงแช่บ๊วยสำเร็จ 1ถุง  ต่อ น้ำ 800 ซีซี

6.นำฝรั่งขึ้นจากการแช่ ข้อ 4  ผึ่งให้สะเด็ดน้ำประมาณ 15 นาที

7.นำฝรั่งที่ผึ่งไว้  ใส่ลงไปในถังกลิ้ง  ใส่น้ำยาลงไป  และกลิ้งเป็นเวลาประมาณ 10นาที หรือ กลิ้งจนน้ำยาซึมเข้าไปในผิวฝรั่ง 0.5 ซม.(ไม่ควรเกิน 0.7ซม.)

8.      นำฝรั่งที่กลิ้งเสร็จแล้วมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ

9.      ชั่ง  บรรจุถุง  และแช่เย็นที่อุณหภูมิ 0-4 องศาเซลเซียส
 หมายเหตุ  มีการนำ สารบอแร๊กซ์มาใช้กับฝรั่งแช่บ๊วย เพื่อทำให้ ฝรั่งกรอบขึ้น และมีคุณสมบัติทำให้เก็บรักษาความสดได้นานขึ้น
สังเกตุจากฝรั่งแช่บ๊วยที่มีความแข็งเป็นพิเศษและเก็บไว้ได้นานเกิน 1 อาทิตย์ โดยสามารถทรงความสดกรอบไว้ได้  
ทางเราไม่ขอสนับสนุนและผงแช่บ๊วยสำเร็จรูปของเราก็ไม่มีสารบอแรกซ์หรือสารพิษอื่นๆเจือปนแต่อย่างใด   หากแต่อาจจะมีก็แต่ลูกค้าบางท่านนำไปเติมแต่งเอง เท่านั้น ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นกับวิจารณญานของท่านเองนะครับว่าจะรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรและเพียงใด

ทางเราแนะนำว่า ไม่ควรจะใส่สารบอแร๊กซ์เข้าไปในการปรุงน้ำยาแช่บ๊วย  หากต้องการให้ฝรั่งกรอบควรใช้วิธีที่ไม่เป็นพิษเช่น แช่ฝรั่งในสารส้ม หรือ แช่ในน้ำปูนใสแทน  และกะจำนวนผลิตต่อวันให้พอดี ไม่ควรเก็บไว้ขายเกิน 3 วัน  หรือควรทำวันต่อวันแทน 

5.1  เทผงแช่บ๊วยสำเร็จรูปลงไป
5.2 เติมน้ำ แล้วให้ความร้อน
5.3  รอให้น้ำตาลละลายหมด (ประมาณ 5-7 นาที)
5.4  กรอง  แล้วทิ้งไว้ให้เย็น